3M Noise Measurement

การวัดเสียงรบกวน

การวัดเสียงรบกวนเป็นพื้นฐานสำหรับโครงการอนุรักษ์การได้ยินทั้งหมด ผลการสำรวจเสียงรบกวนเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการลดความเสี่ยงและดำเนินการป้องกัน

เราต้องการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program) หรือไม่?

  • 3M Detection Solutions

    หากพนักงานในบริษัทของคุณปฏิบัติงานในบริเวณที่มีเสียงดัง ให้เริ่มด้วยการทำการสำรวจและการตรวจวัดเสียง

    ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (OSHA) กำหนดให้นายจ้างจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program) เมื่อค่าเฉลี่ยระดับความดังเสียงรบกวนตลอดระยะเวลาการทำงาน (Time Weighted Average) 8 ชั่วโมง มีค่าตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอหรือมากกว่า

    การสำรวจอาจทำแบบง่ายหรือซับซ้อน และอาจดำเนินการโดยคนที่อยู่ในทีมสุขภาพและความปลอดภัยของคุณหรือโดยที่ปรึกษาก็ได้ เครื่องมือวัดเสียงมีหลายประเภทให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับประเภทของเสียงรบกวนและวัตถุประสงค์ของการตรจวัด

    ตรวจวัดเสียงรบกวนเพื่อใช้ในตอบคำถามสำคัญ
     

    • โครงการอนุรักษ์การได้ยินมีความจำเป็นหรือไม่?
    • สามารถควบคุมระดับเสียงดังได้หรือไม่?
    • เราต้องการป้องกันการสูญเสียได้ยินมากแค่ไหน?

    ข้อบ่งชี้บางประการที่บอกว่าเสียงรบกวนอาจจะเป็นปัญหาในที่ทำงานของคุณ
     

    • พนักงานได้ยินเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่ง ๆ ในหูหลังจากสัมผัสกับเสียงที่ดัง
    • เสียงรบกวนนั้นอาจดังมากจนทำให้พนักงานต้องตะโกนเพื่อให้เพื่อนร่วมงานได้ยินในระยะห่างหนึ่งช่วงแขน
    • พนักงานสังเกตว่ามีการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวเมื่อออกจากที่ทำงาน

ประเด็นที่สำคัญ

    • จำเป็นต้องทำโครง การอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program) เมื่อใดก็ตามที่มีการสัมผัสกับเสียงรบกวนโดยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (Time Weighted Average) ของพนักงานมีค่าตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป.
    • การตรวจสอบแบบพื้นที่ เป็นจุดเริ่มต้นที่มีประโยชน์ . 
    • จำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างการรับสัมผัสรายบุคคล (การสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงานแต่ละคน) เมื่อพนักงานมีการเคลื่อนที่อย่างมากและระดับเสียงรบกวนแตกต่างกันมาก.
    • จำเป็นต้องทำการวัดเสียงรบกวนโดยละเอียดด้วย การวิเคราะห์ความถี่ของ เสียงเพื่อการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาการควบคุมเสียงรบกวน.
    • ระดับปฏิบัติการ (Action level)
    • เกณฑ์มาตรฐาน
    • ปริมาณเสียง
    • เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม
    • ค่าอัตราการแลกเปลี่ยนพลังงาน (Exchange rate)
    • การวิเคราะห์ Octave Band
    • ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสที่ยอมรับได้ (Permissible exposure limit)
    • การสำรวจเสียงรบกวน (เสียงรบกวน)
    • เครื่องวัดระดับเสียง (Sound level meter)
    • Threshold level
    • ระดับการรับสัมผัสเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (Time weighted average)
    • การถ่วงน้ำหนัก

เริ่มต้นโดยการสำรวจพื้นที่ที่มีเสียง

  • 3M Detection Solutions

    ขั้นตอนที่ 1. ทำการสำรวจโดยรอบ
    อาจใช้การสำรวจโดยรอบหรือการสำรวจ "ประเมินระดับเสียงเบื้องต้น" เป็นขั้นตอนแรกเพื่อให้ทราบว่าเกิดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนที่ใดบ้าง จุดประสงค์ คือ เพื่อระบุว่ามีเสียงรบกวนที่เป็นอันตรายอยู่ที่ใด หากมีระดับเสียงรบกวน 80 เดซิเบลเอขึ้นไป จำเป็นจะต้องมีการตรวจวัดเสียงเพิ่มเติม

    ขั้นตอนที่ 2. ทำการสำรวจระดับเสียงในบริเวณที่มีเสียงดัง
    การสำรวจระดับเสียงเป็นวิธีการอย่างเป็นระบบในการวัดระดับเสียงของอุปกรณ์หรืองานเฉพาะอย่างในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้ตัวบุคคลหนึ่ง ประเภทของการสำรวจระดับเสียง ได้แก่
     

    • การสำรวจแบบทั่วไป: จะช่วยผู้ปฏิบัติงานในการประเมินปริมาณเสียงรบกวนในสภาพแวดล้อม, สร้างแผนที่เสียงรบกวนแสดงระดับเสียงในพื้นที่ และพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีการตรวจวัดระับเสียงให้ครอบคลุมมากขึ้นหรือไม่ อาจจะใช้ข้อมูลในการสร้างแผนการสุ่มตัวอย่าง หรือก็คือ การประมาณจำนวนตัวอย่างที่ต้องเก็บเพื่อใช้แสดงรายละเอียดระดับเสียงรบกวนต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่หรือรายละเอียดการทำงานได้อย่างถูกต้อง
    • การสำรวจอย่างละเอียด: เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับงานเฉพาะอย่าง พื้นที่เฉพาะ หรืออุปกรณ์เฉพาะ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีประโยชน์ในการพิจารณาการสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงาน การกำหนดการป้องกันการได้ยิน และระบุว่าใครอยู่ในหรือนอกโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
    • สำรวจการควบคุมเสียงดัง: มุ่งเน้นไปที่การระบุและการจัดลำดับความสำคัญของตัวเลือกในการลดอันตรายจากเสียงรบกวนโดยใช้มาตรการควบคุมทางวิศวกรรมหรือมาตรการควบคุมการจัดการ

    ขั้นตอนที่ 3. สร้างแผนการสุ่มตัวอย่างเสียงรบกวน
    ผลจากการสำรวจระดับเสียงพื้นฐานและจากการสังเกตของคุณว่าเสียงรบกวนที่ผันผวนในช่วงระหว่างวันทำงานจะสามารถช่วยคุณได้อย่างไรในการวางแผนจำนวนการวัดต้องทำเพื่อที่จะประเมินการสัมผัสเสียงรบกวนในแต่ละพื้นที่และแต่ละงานหรือรายละเอียดการทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไป จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อผลจากการสำรวจพื้นฐานนั้นใกล้เคียงกับค่าขีดจำกัดเสียงที่ยอมให้การสัมผัสได้ในสถานที่ทำงาน (Occupational Exposure Limit) และเมื่อผลจากการสำรวจเสียงรบกวนพบความผันผวนสูง อาจต้องใช้ตัวอย่างจำนวนน้อยลงหากพบว่าระดับเสียงจากการสำรวจต่ำกว่า OEL และระดับเสียงมีความผันผวนน้อยกว่า

    แหล่งข้อมูลที่แนะนำเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมผัสกับเสียงในสถานที่ทำงาน: “Quantitative Exposure Data: Interpretation, Decision Making and Statistical Tools” in A Strategy for Assessing and Managing Occupational Exposures, 4th Edition". AIHA Press, 2015. "The Noise Manual, Fifth Edition". AIHA Press 2003

    ขั้นตอนที่ 4. ตรวจสอบการสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงาน
    การวัดการสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงานกำหนดให้มีการเฉลี่ยระดับเสียงในช่วงเวลาหนึ่ง การตรวจสอบการสัมผัสเสียงรบกวนมักจะรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจเสียงอย่างละเอียด วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบการสัมผัสเสียงรบกวน คือ เพื่อหาค่าเฉลี่ยของการรับสัมผัสตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA) 8 ชั่วโมงของพนักงาน หรือหาปริมาณเสียงรบกวนสะสมในกะการทำงาน (ปริมาณเสียงรบกวนส่วนบุคคล) นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อวัดว่าเสียงรบกวนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรตามช่วงเวลาของงานที่ทำ


การใช้งานเครื่องมือวัดเสียง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือวัดการสัมผัสเสียงรบกวน

เครื่องมือวัดเสียงควรมีความทนทานและเชื่อถือได้ รวมทั้งต้องมีระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ตรวจจับ วัดค่า ประเมิน และรายงานอันตรายด้านความปลอดภัยในการทำงานและสิ่งแวดล้อม

เครื่องมือวัดระดับเสียง (Sound level meters) จะวัดระดับความดันเสียงแบบเรียลไทม์ อย่างน้อยต้องเป็นเครื่องวัดเอนกประสงค์ (ไมโครโฟนประเภทที่ 2) และจำเป็นต้องมีการตั้งค่าเครื่องมือเฉพาะสำหรับใช้ในการสำรวจเสียงในการสถานที่ทำงาน SLM อาจเป็นแบบทั่วไป หรือมีคุณสมบัติและความสามารถขั้นสูง 

  • วัดและแสดงระดับเสียงแบบเรียลไทม์ ไม่ได้ให้ผลลัพธ์เป็นค่าเฉลี่ยหรือเก็บข้อมูล

  • นอกเหนือไปจากการวัดและการแสดงระดับเสียงแล้ว เครื่องวัดเสียง (SLM) ขั้นสูงยังสามารถให้ค่าเฉลี่ยหรือรวมระดับเสียงตามช่วงเวลาได้ นี่เป็นฟังก์ชั่นที่สำคัญเนื่องจากความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินและค่าขีดจำกัดการสัมผัสเสียงรบกวนนั้นขึ้นอยู่กับระดับเสียงเฉลี่ยที่วัดได้ เครื่องวัดเสียง (SLM) เหล่านี้อาจมีตัวกรองพิเศษสำหรับวัดเสียงดังแบบเฉียบพลัน /เสียงกระแทก หรือ octave band filter เพื่อแบ่งสเปกตรัมเสียงออกเป็นส่วนย่อยที่เล็กลง

  • เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสมส่วนบุคคลเป็นอุปกรณ์พกพาที่พนักงานต้องติดตั้งที่ตัวบุคคลเป็นระยะเวลายาวนานตลอดช่วงกะการทำงาน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการสุ่มตัวอย่างเสียง เครื่องมือจะคำนวณค่าเฉลี่ยการรับสัมผัสตลอดระยะเวลาการทำงาน, ปริมาณเสียงรบกวน และเมตริกที่สำคัญอื่น ๆ โดยอัตโนมัติ ข้อบังคับกำหนดให้ใช้การสุ่มตัวอย่างบุคคลที่เป็นตัวแทน เมื่อผู้ปฏิบัติงานย้ายสถานที่บ่อยครั้งหรือเมื่อมีระดับเสียงรบกวนที่แปรปรวน

  • เครื่องวัดเสียงทุกชนิดจำเป็นต้องได้รับการสอบเทียบอยู่เป็นประจำ มีคำแนะนำให้ผู้ผลิตทำการสอบเทียบเครื่องมือเป็นประจำทุกปีเพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องของเครื่องมือตรวจวัด ทุกครั้งที่ใช้เครื่องวัดเสียง ควรทำการตรวจสอบเครื่องวัดเสียงนั้นด้วยอุปกรณ์สอบเทียบเครื่องวัดเสียงที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องมือนั้น ๆ ค่าระดับเสียงที่ได้ควรเหมือนกันทั้งในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละช่วงการวัด

  • เครื่องวัดเสียงรบกวนแบ่งตามประเภทหรือระดับ ตามความแม่นยำของไมโครโฟน เครื่องมือเอนกประสงค์ประเภทที่ 2 (Class 2) ได้รับการออกแบบให้มีความแม่นยำถึง +/- 2 เดซิเบล สำหรับการวัดเสียงรบกวนในโครงการอนุรักษ์การได้ยินส่วนใหญ่ เครื่องมือประเภทที่ 2 ถือว่าเพียงพอแล้ว วิศวกรอาจใช้เครื่องมือประเภทที่ 1 ที่มีความแม่นยำกว่าเพื่อทำการสำรวจการควบคุมเสียงรบกวนโดยละเอียด แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นสำหรับการสำรวจระดับเสียงพื้นฐาน

  • มีแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมากมายที่สามารถนำไปใช้วัดเสียงได้ แอพลิเคชั่นเหล่านี้อาจมีประโยชน์ในการสอนพนักงานเกี่ยวกับระดับเสียงในสถานที่ทำงานของคุณ และใช้แสดงให้เห็นว่าระดับเสียงมีความแตกต่างกันอย่างไรตามพื้นที่และงานที่ทำ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตในการสำรวจเสียงรบกวนที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน เว้นแต่จะใช้ไมโครโฟนประเภทที่ 2 และมีการสอบเทียบเครื่องมือก่อนและหลังการวัดแต่ละครั้ง หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ โปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ NIOSH online


การตั้งค่าเครื่องมือวัดเสียง

  • 3M Sound Measurement

    ผลของการตรวจวัดระดับเสียงขึ้นอยู่กับการตั้งค่าการวัดที่ใช้ ในสหรัฐอเมริกา กฎข้อบังคับของ OSHA กำหนดให้ใช้การตั้งค่าบางอย่างเพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนด ข้อบังคับอื่น ๆ และองค์กรวิชาชีพบางแห่งแนะนำให้ใช้การตั้งค่ากลุ่มที่แตกต่างกันเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันที่ดียิ่งขึ้น

    A-weighting
    สำหรับการอนุรักษ์การได้ยิน จะใช้การตั้งค่าตัวกรองของเครื่องมือวัดเสียงที่เรียกว่า A-weighting เมื่อวัดเสร็จแล้ว เสียงที่รวมอยู่ในการวัดจะถูกจำกัดให้อยู่ในช่วงความถี่เสียงที่หูของมนุษย์มีความไวมากที่สุดและมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อการได้ยินจากเสียงรบกวนมากที่สุด

    การตอบสนองช้า
    การอ่านค่าเดซิเบลที่แสดงบนเครื่องวัดระดับเสียงจะเป็นค่าเฉลี่ยของระดับเสียงที่วัดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับการอนุรักษ์การได้ยิน จะใช้การตั้งค่าแบบการตอบสนองช้าซึ่งหมายความว่าค่าบนหน้าจอ คือ ค่าเฉลี่ย 1 วินาทีที่วัดได้ในขณะที่เครื่องมือนั้นเปิดอยู่

    การตั้งค่าเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (OSHA 1910.95)
     

    • เกณฑ์มาตรฐาน: 90 เดซิเบลเอ
    • Threshold level: 80 เดซิเบลเอ (การอนุรักษ์การได้ยิน) หรือ 90 เดซิเบลเอ (การควบคุมเสียงรบกวน)
    • ค่าขีดจำกัดบน: 115 เดซิเบลเอ

    แหล่งข้อมูลเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือวัดเสียงรบกวนและวิธีการสุ่มตัวอย่าง:
     


มีสิ่งที่จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง

OSHA ไม่ได้ระบุตารางเวลาในการตรวจวัดระดับเสียงรบกวน แต่จะต้องทำการสำรวจเสียงรบกวนซ้ำ เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ขั้นตอน หรือเวลาในการสัมผัสซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงาน หลายบริษัทเลือกที่จะทำการสำรวจเป็นระยะ (ปีละครั้งหรือสองปี) เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานที่สัมผัสเสียงรบกวนทั้งหมดจะถูกรวมเข้าในโครงการอนุรักษ์การได้ยินของตน

  • Occupational Noise Exposure
    ข้อกำหนดของ OSHA ในสหรัฐอเมริกา 29 CFR 1910.95 การสัมผัสเสียงรบกวนในสถานที่ทำงาน

    เมื่อการสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงานถึงหรือเกินระดับปฏิบัติการ (Action Level) TWA ที่ 85 เดซิเบล:

    • พัฒนาและใช้โปรแกรมตรวจสอบเสียงรบกวน
    • ออกแบบกลยุทธ์การสุ่มตัวอย่างเพื่อกำหนดพนักงานที่จะรวมไว้ในโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program)
    • ใช้การสุ่มตัวอย่างส่วนบุคคลที่เป็นตัวแทน (การวัดปริมาณเสียงสะสม) เมื่อพนักงานมีการเคลื่อนที่อย่างมาก ระดับเสียงรบกวนมีความแปรปรวน หรือมีเสียงดังแบบฉับพลันที่สำคัญ
    • ตั้งค่าเครื่องวัดเสียงเป็น A-weighting scale และตั้งค่าการตอบสนองเป็น "ช้า" ใช้ไมโครโฟนประเภทที่ 2 (หรือดีกว่านั้น)
    • ให้พนักงาน (หรือตัวแทนของพวกเขา) สังเกตการณ์การตรวจสอบ แจ้งผลลัพธ์จากการตรวจวัดให้พวกเขาทราบ

    อ่าน OSHA 29 CFR 1910.95

  • Permissable Exposure Limit
    รู้ขีดจำกัด

    OSHA และหน่วยงานอื่น ๆ ได้กำหนด ค่าขีดจำกัดการสัมผัสที่ยอมรับได้ (Permissible Exposure Limit) ที่ 90 เดซิเบลเอ ได้มาจากอัตราการแลกเปลี่ยน 5 เดซิเบล สำหรับการคำนวณปริมาณเสียงรบกวน สิ่งนี้เรียกว่า แนวทาง '90 / 5 ' ในการหาปริมาณการสัมผัสเสียงรบกวนรายวัน

    แหล่งข้อมูลสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎข้อบังคับด้านเสียงรบกวนและการอนุรักษ์การได้ยินของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา

    อ่าน MSHA 30 CFR Part 62

    อ่าน FRA 49 CFR Part 227 & 229


เพิ่มเติมจากข้อมูลพื้นฐาน

ดาวน์โหลด Noise Exposure Infographic*** (PDF, 167.21 KB)

นายจ้างอาจเลือกนโยบายเชิงรุกเพื่อปกป้องพนักงานที่สัมผัสเสียงรบกวนได้ดียิ่งขึ้น แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการวัดเสียงรบกวน ได้แก่:

  • 3M Occupational Noise Limits Infographic

    ปรับลดขีดจำกัด
    นายจ้างบางรายได้ใช้ค่าขีดจำกัดการสัมผัสเสียงที่แนะนำ (Recommended Exposure Limit) ของ NIOSH ที่ต่ำกว่า 85 เดซิเบลเอ TWA และอัตราการแลกเปลี่ยน 3 เดซิเบล สำหรับการประมาณปริมาณเสียงรบกวน เวลาการสัมผัสเสียงสูงสุดที่อนุญาตต่อวัน ดังที่แสดงไว้จะสั้นกว่ามากเมื่อมีการใช้วิธีของ NIOSH การวัดการสัมผัสเสียงรบกวนด้วยวิธีนี้อาจทำให้นายจ้างใช้การควบคุมเสียงรบกวนและวิธีการแก้ปัญหาการป้องกันการได้ยินที่ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อลดการสัมผัสกับเสียงรบกวนของพนักงาน

    หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทาง 85/3 ในการวัดการสัมผัสเสียงรบกวนและวิธีการวัดเสียงรบกวนที่แนะนำ:
     

    วางแผนล่วงหน้า
    ทำให้ข้อมูลการวัดเสียงรบกวนเป็นปัจจุบันด้วยการสำรวจซ้ำทุก ๆ หนึ่งถึงสองปี ทำการสำรวจเสียงรบกวนซ้ำหลังจากดำเนินการควบคุมทางวิศวกรรม สอบเทียบเครื่องมือสำรวจเสียงรบกวนเป็นประจำทุกปี ดำเนินการตรวจสอบการสอบเทียบเครื่องมือทั้งก่อนและหลังการวัดแต่ละครั้งเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจในความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ

    ทำด้วยความละเอียด
    ดำเนินการเก็บตัวอย่างให้เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่าการวัดเสียงรบกวนนั้นเป็นตัวแทนของการสัมผัสเสียงของพนักงาน ซึ่งอาจต้องใช้แนวทางการสุ่มตัวอย่างทางสถิติ บันทึกพื้นที่และงานที่มีระดับสัญญาณรบกวนและหรือการสัมผัสที่น้อยกว่า 85 เดซิเบลเอ TWA ตลอดจนค่าที่เท่ากันกับหรือสูงกว่าระดับปฏิบัติการ

    ใช้ผลลัพธ์ของคุณ
    สร้างฐานข้อมูลบันทึกการสำรวจเสียงรบกวนที่สามารถเข้าถึงและดูแลได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไป ทบทวนผลลัพธ์จากการสำรวจเสียงรบกวนเป็นประจำ: ระบุการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงรบกวนหรืองานที่กระตุ้นให้ต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติม

    ดูวิธีใช้
    พิจารณาทำสัญญากับผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงรบกวนเพื่อขอคำแนะนำและคำขอสำรวจโดยละเอียดที่นอกเหนือไปจากความเชี่ยวชาญของนายจ้าง ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการระบุปัญหาและแนวทางแก้ไขเสียงรบกวน


    *Noise Exposure Infographic Copyright 3M 2017. สงวนลิขสิทธิ์


คุณได้พิจารณาแล้วหรือยัง?

  • Noise Exposure Variance
    การสัมผัสเสียงรบกวนมีความแตกต่างกันมากแค่ไหน?
    • งานแต่ละประเภทมีการกำหนดค่ามาตรฐานการรับสัมผัสตลอดระยะเวลาการทำงาน(Time Weighted Average)หรือไม่?
    • คุณได้มีการตรวจวัดเสียงในกิจกรรมที่มีเสียงดังเป็นครั้งคราวหรือตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วหรือยัง?
    • นำการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของกะการทำงานมาคิดด้วยหรือไม่?
    • มีการกำหนดไว้ชัดเจนหรือไม่ว่างานใดที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program)?
  • Noise Exposure Reduction
    ดีกว่านี้ได้หรือไม่?
    • สามารถใช้ค่าขีดจำกัดเสียงรบกวนที่ต่ำลงเป็นนโยบายของบริษัทได้หรือไม่?
    • คุณได้ตั้งค่าเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสมเพื่อวัดการสัมผัสเสียงดังด้วยพารามิเตอร์หลายตัวหรือไม่?
    • คุณสามารถใช้ผลการตรวจวัดเสียง เพื่อจัดทำโครงการสำหรับการควบคุมเสียงดังได้หรือไม่?
    • เสียงรบกวนมีผลต่อการสื่อสารของพนักงานหรือไม่?
  • Noise Exposure Protection
    ผู้ที่จำเป็นต้องรู้จักเสียงรบกวนมีใครบ้าง?
    • พนักงานทราบเกี่ยวกับการสัมผัสเสียงรบกวนและวิธีการป้องกันตัวเองหรือไม่?
    • ผลการตรวจวัดเสียงดังเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกการทดสอบการได้ยินหรือไม่?
    • มีการติดป้ายแจ้งเตือนพนักงานในบริเวณที่มีเสียงดังหรือไม่?
    • พนักงานทราบหรือไม่ว่ามีการตรวจวัดเสียงดังครั้งต่อไปเมื่อใด?

แหล่งข้อมูลเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดเสียงดัง

  • หมายเหตุ: ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงมาจากข้อกำหนดของประเทศที่เลือกในปัจจุบัน ข้อกำหนดของประเทศหรือท้องถิ่นอื่น ๆ อาจแตกต่างกัน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งานและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในแต่ละประเทศเสมอ เว็บไซต์นี้แสดงภาพรวมของข้อมูลทั่วไปและไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การอ่านข้อมูลนี้ไม่ได้รับรองความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ข้อมูลนี้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่เผยแพร่ และข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้แยกจากกันเนื่องจากเนื้อหามักจะมาพร้อมกับข้อมูลเพิ่มเติมและหรือคำชี้แจงเพิ่มเติม จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด