การสัมผัสเสียงที่เป็นอันตรายเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของพนักงาน การเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพการได้ยินของพนักงานที่สัมผัสเสียงดัง เพื่อหาการเปลี่ยนแปลง จากนั้นดำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม
โครงการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินจะตรวจสอบเกณฑ์การได้ยินของพนักงานและติดตามพวกเขาเมื่อเวลาผ่านไป มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาการสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปหรือการเปลี่ยนแปลงในการได้ยินที่อาจส่งสัญญาณถึงภาวะเริ่มต้นของการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเสียงรบกวน (NIHL) การระบุสัญญาณเตือนและอาการได้เร็วพอ จะช่วยให้นายจ้างสามารถจัดการได้ก่อนที่อาการจะแย่ลง ดังนั้น ส่วนหนึ่งของโครงการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยิน คือ เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินขึ้นอยู่กับการตรวจสอบเกณฑ์การได้ยินในลักษณะที่สอดคล้องกันเป็นมาตรฐานโดยใช้บุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมและมีความสามารถ ห้องทดสอบควรเงียบพอที่จะลดสิ่งรบกวนเพื่อให้ได้เกณฑ์ที่ถูกต้อง การตรวจการได้ยินพื้นฐาน (audiogram) ที่ทำก่อนที่พนักงานสัมผัสเสียงดังที่เป็นอันตรายเป็นครั้งแรก จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับการตรวจการได้ยินตามปกติเป็นประจำในอนาคต โดยทั่วไปจะทำการตรวจเป็นประจำทุกปี โดยผลการตรวจเหล่านี้จะช่วยในการระบุปัญหาต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์การได้ยิน
โครงการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินอาจนำเสนอได้หลายวิธี รวมถึงการตรวจภายในองค์กร, รถบริการเคลื่อนที่ หรือที่คลินิกสุขภาพ อาจดำเนินการโดยนักโสตสัมผัสวิทยาหรือแพทย์ แต่ส่วนใหญ่มักทำโดยช่างเทคนิคด้านการได้ยินหรือนักอนุรักษ์การได้ยินในสถานที่ทำงานที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทาง "audiograms ที่มีปัญหา" ใด ๆ จะต้องได้รับการทบทวนโดยนักโสตสัมผัสวิทยาหรือแพทย์เพื่อช่วยพิจารณาการดำเนินการติดตามผล ตัวอย่าง เช่น ในบางกรณีจำเป็นต้องมีการติดตามผลทางการแพทย์ หากเกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรขึ้น ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยตรวจสอบได้ว่าเกี่ยวข้องกับเสียงรบกวนในงานหรือไม่
ผลการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินสามารถนำไปใช้เป็นรายบุคคลเพื่อสอนพนักงานเกี่ยวกับสถานะสุขภาพการได้ยินของตนเอง นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ฐานข้อมูลการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินทั้งหมดเพื่อหาแนวโน้มและพัฒนาแผนการจัดการที่เหมาะสมอีกด้วย ผลการตรวจสอบการได้ยินควรกระตุ้นให้เกิดการติดตามผล
โดยตามกฎข้อบังคับ พนักงานทุกคนที่สัมผัสเสียงรบกวนในระดับปฏิบัติการหรือสูงกว่า (85 เดซิเบลเอ TWA) จะต้องรวมอยู่ในโครงการตรวจสอบสมรรถภาพการได้ยิน ซึ่งรวมถึงพนักงานที่ต้องสัมผัสเสียงรบกวนทุกวัน ตลอดจนผู้ที่สัมผัสเสียงรบกวนเพียงหนึ่งวันต่อปี นายจ้างอาจเลือกที่จะขยายโครงการเพื่อรวมเอาพนักงานอื่น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม การระบุว่าใครจำเป็นต้องอยู่และใครเป็นตัวเลือกก่อนที่จะเริ่มรอบการตรวจสอบได้ก็จะเป็นประโยชน์ ค้นหาข้อมูลการสัมผัสเสียงรบกวนในบันทึก/รายงานการสำรวจเสียงรบกวน โดยทั่วไป การสำรวจเสียงรบกวนจะช่วยในการระบุว่าพื้นที่ทำ งาน และหรือบุคคลใดอยู่ในระดับหรือสูงกว่าระดับปฏิบัติการ
การทราบจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่จะรับการทดสอบต่อปี จะช่วยกำหนดวิธีการที่ดีที่สุดในการส่งทดสอบการได้ยิน โดยทั่วไปแล้วปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น คุณภาพ, เวลาที่พนักงานหยุดทำงาน, ความยืดหยุ่น, พื้นที่ว่าง, บุคลากร, การเข้าถึงบันทึกข้อมูล และต้นทุนรวมของโครงการ จะถูนำมาพิจารณาทั้งหมด เป้าหมายคือการสร้างโครงการระยะยาวที่มีเสถียรภาพ มั่นคงและมีความต่อเนื่อง คุณภาพที่ไม่ดี ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเงิน แต่ยังรวมถึงเวลาและแรงงานที่สูญเปล่า สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และขวัญกำลังใจ รวมถึงความรับผิดของนายจ้าง
การกำหนดเวลาการทดสอบจะขึ้นอยู่กับวิธีการที่เลือกเพื่อส่งทดสอบ ตัวอย่างเช่น การทดสอบอาจทำตลอดทั้งปี หรือเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์ หรือเดือนเดียวกันของทุกปี ข้อควรพิจารณาบางประการสำหรับการกำหนดเวลาคือ: ช่วงเวลาของปี เวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของกะการทำงาน และความพร้อมของผู้ปฏิบัติงานที่จะหยุดทำงาน พนักงานที่ต้องการการทดสอบเป็นค่าพื้นฐาน (Baseline Test) ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังในสถานที่ทำงานเป็นเวลา 14 ชั่วโมง หรือสวมอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเมื่อต้องสัมผัสเสียงก่อนการทดสอบ
การดำเนินการตรวจสอบการได้ยินยังสร้างโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงาน อาจจัดการฝึกอบรมเพิ่มเติม สามารถจัดการตรวจสอบสภาพและความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเพิ่มเติมได้
โดยปกติจะมีการติดตามผลที่ต้องดำเนินการ หลังจากทดสอบเสร็จสิ้นแล้ว ข้อบังคับของ OSHA ระบุว่า "ผลออดิโอแกรมที่มีปัญหา" ทั้งหมดต้องได้รับการตรวจสอบโดยแพทย์หรือนักโสตสัมผัสวิทยาเป็นอย่างน้อย ซึ่งหมายความว่าควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบบันทึกข้อมูลของผู้ปฏิบัติงานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางการได้ยินอย่างชัดเจน สัญญาณของการสูญเสียการได้ยิน หรือผลการทดสอบที่น่าสงสัยเพื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูเพิ่มเติมหรือไม่และอย่างไร
มีการดำเนินการติดตามผลหลายประเภทที่อาจจำเป็นโดยขึ้นอยู่กับผลทดสอบสมรรถภาพการได้ยินและข้อมูลประวัติทางการแพทย์ที่ได้รับจากผู้ปฏิบัติงาน การติดตามผลบางประเภทเป็นสิ่งจำเป็น และบางประเภทเป็นตัวเลือก โดยทั่วไปแล้วการร่วมมือกับแพทย์หรือนักโสตสัมผัสวิทยาจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกรอบความจำเป็นในการติดตามผลและการฟื้นฟู ตัวอย่างบางส่วนของการดำเนินการติดตามผลคือ: การทดสอบซ้ำและการฝึกอบรมซ้ำสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ได้ทำการวัดค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยิน (Standard threshold shift : STS) เรียบร้อยแล้ว การทดสอบซ้ำสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทดสอบไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง การส่งต่อผู้ปฏิบัติงานที่มีสัญญาณของอาการป่วยไปยังแพทย์หรือนักโสตสัมผัสวิทยา การทดสอบความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน การตรวจสอบอันตรายในสถานที่ทำงาน และการพิจารณาการสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ข้อกำหนดสำหรับการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินมีรายละเอียดอยู่ใน OSHA 29 CFR 1910.95 การแก้ไขการอนุรักษ์การได้ยิน ต่อไปนี้เป็นการสรุปข้อกำหนดโดยสังเขป ข้อบังคับเองควรได้รับการพิจารณาในส่วนของถ้อยคำจริงและ/หรือการใช้งานจริง โปรดทราบว่าแผนการดำเนินการตามแบบ OSHA ของรัฐ อาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติม
ใครบ้างที่ต้องรับการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
พนักงานทุกคนซึ่งสัมผัสเสียงดังที่ระดับการเฝ้าระวังของ OSHA (85 dBA TWA) ขึ้นไปต้องเข้าร่วมโครงการตรวจสอบสมรรถภาพการได้ยิน
ใครสามารถดำเนินการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินได้บ้าง
การทดสอบสามารถดำเนินการได้โดยนักโสตสัมผัสวิทยาที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับการรับรอง โสต ศอ นาสิกแพทย์ (แพทย์หูคอจมูก) หรือแพทย์อื่นๆ หรือโดยนักเทคนิคที่ได้รับการรับรอง การรับรองนักเทคนิคการตรวจสอบโดย Council for Accreditation in Occupational Hearing Conservation (CAOHC) ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.caohc.org นักเทคนิคที่ไม่ได้รับการรับรองจะต้องสามารถแสดงความเชี่ยวชาญในงานได้ นักเทคนิคที่ดำเนินการทดสอบการได้ยินทุกคนต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของนักโสตสัมผัสวิทยาหรือแพทย์
การทดสอบพื้นฐาน (Baseline tests)
ดำเนินการภายใน 6 เดือนหลังจากสัมผัสเสียงดังตลอดระยะเวลาการทำงานที่ 85 dBA ขึ้นไป เว้นแต่จะใช้รถทดสอบเคลื่อนที่ ในกรณีดังกล่าวอนุญาตให้ดำเนินการได้สูงสุด 12 เดือน อย่างไรก็ตามต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินหากดำเนินการทดสอบหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว
ต้องมีระยะเวลางดการสัมผัสเสียงดังในสถานที่ทำงาน 14 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบพื้นฐาน โดยอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินแทนระยะเวลางดการสัมผัสเสียงดัง 14 ชั่วโมงได้
ต้องดำเนินการทดสอบประจำปีทุกๆ 12 เดือนหรือเร็วกว่านั้น และอาจดำเนินการได้ตลอดเวลาในระหว่างกะการงาน
การทดสอบซ้ำ: หากผู้ปฏิบัติงานแสดงให้เห็นถึงค่าเฉลี่ยของการได้ยิน(STS) ในการทดสอบประจำปีเมื่อเทียบกับค่าพื้นฐาน อาจทำการทดสอบซ้ำภายใน 30 วันหลังจากการทดสอบประจำปี การทดสอบซ้ำจะดำเนินการหรือไม่ก็ได้
เสียงรบกวนพื้นหลังของบริเวณที่ดำเนินการทดสอบการได้ยินต้องเป็นไปตามระดับเสียงรบกวนที่กำหนดไว้:
ระดับความดันเสียง octave-band สูงสุดที่ OSHA* กำหนดสำหรับห้องทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
*เสียงที่อนุญาตสำหรับหูที่ครอบด้วย MX-41/AR Cushions
คำตอบสำหรับคำถามที่พบบ่อยตาม OSHA 1910.95
การสัมผัสเสียงดังตลอดระยะเวลาการทำงานของพนักงานที่ระดับ 85 dBA ขึ้นไป
ภายใน 6 เดือนหลังจากสัมผัสเสียงดังครั้งแรกหรือภายใน 12 เดือนหากใช้บริการรถเคลื่อนที่ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินหากไม่มี Baseline audiogram ภายใน 6 เดือน
ประจำทุกปี
ใช่ แต่เฉพาะในกรณีที่สวมอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินในระหว่างสัมผัสเสียงดังเท่านั้น
ใช่.
ใช่ ในกรณีที่คลินิกได้มาตรฐานตามข้อกำหนดการทดสอบของ OSHA และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการทำเช่นนั้น
ใช่ อย่างไรก็ตามต้องทำการทดสอบการได้ยินโดยไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับการทดสอบโดยนักโสตสัมผัสวิทยา หากจำเป็น
ใช่ อย่างไรก็ตามบางครั้งอาการหูอื้อ (มีเสียงก้องในหู) อาจทำให้การหาระดับเกณฑ์ขั้นต่ำที่ถูกต้องนั้นยากขึ้น หากผลลัพธ์ไม่สอดคล้องกัน ผู้ปฏิบัติงานอาจมีปัญหาในการแยกแยะเสียงทดสอบจากเสียงก้องในหูของตน ทางเลือกหนึ่งคือให้ผู้ปฏิบัติงานไปพบนักโสตสัมผัสวิทยาเพื่อรับการทดสอบที่ถูกต้อง
ทางเลือกหนึ่งคือการใช้ล่ามเพื่ออธิบายวัตถุประสงค์ของการทดสอบและคำแนะนำ เครื่องวัดสมรรถภาพการได้ยินบางรุ่นมีคุณสมบัติเพิ่มเติมในการแนะนำผู้ปฏิบัติงานผ่านหูฟังเป็นภาษาที่ต้องการ
ข้อบังคับไม่ได้ระบุว่าต้องมีการตรวจช่องหูด้วยสายตา อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวอาจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหูและบอกว่าควรทำการทดสอบหรือไม่
หมายเหตุสำคัญ: ข้อมูลนี้อ้างอิงจากข้อกำหนดของประเทศที่เลือกในปัจจุบัน ข้อกำหนดของประเทศหรือในพื้นที่อื่นๆ อาจแตกต่างกัน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งานและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในพื้นที่เสมอ เว็บไซต์นี้แสดงภาพรวมของข้อมูลทั่วไปและไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจที่เฉพาะเจาะจง การอ่านข้อมูลนี้ไม่ได้รับรองความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ข้อมูลนี้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่เผยแพร่ และข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะแยกส่วน เนื่องจากเนื้อหามักประกอบไปด้วยข้อมูลเพิ่มเติมและ/หรือขยายความ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด