ช่วยให้พนักงานของคุณใช้ประโยชน์สูงสุดจากอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HPD) ที่พวกเขาสวมใส่ โดยการตรวจสอบว่าการลดเสียงรบกวนที่ให้นั้นเพียงพอ และอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินนั้นถูกใช้ดูแลรักษาและเปลี่ยนอย่างเหมาะสม
ค่าการลดเสียง (NRR) คือ รายละเอียดบอกปริมาณการลดเสียงที่วัดได้จากกลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ซึ่งสวมอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินอย่างถูกต้องในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากวิทยาศาสตร์ด้านการป้องกันการได้ยินพัฒนาไปอย่างมาก จึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบความเพียงพอของเครื่องป้องกันการได้ยินสำหรับพนักงานเฉพาะรายใด ๆ คือ การดำเนินการทดสอบความกระชับเพื่อยืนยันว่าได้บรรลุถึงระดับการลดทอนเสียงตามที่คาดไว้ (กล่าวคือ เลือกชนิดของเครื่องป้องกันที่เหมาะสมและใช้งานได้อย่างถูกต้อง) 3M แนะนำให้ทำการทดสอบความกระชับของอุปกรณ์ลดเสียง แม้ว่ากฎระเบียบของสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ระบุถึงการทดสอบความกระชับ แต่ข้อบังคับ OSHA 29 CFR 1910.95 ระบุว่าอาจใช้ NRR ในการพิจารณาว่าเครื่องป้องกันการได้ยินเครื่องนั้นให้การป้องกันที่เพียงพอหรือไม่ภายในการสัมผัสเสียงรบกวนจากทางใดทางหนึ่งต่อไปนี้:
หากบริษัทของคุณใช้ A-weighting เพื่อวัดการสัมผัสเสียงรบกวน TWA ของพนักงาน จะแสดงวิธีของ OSHA ในการพิจารณาความเพียงพอของการป้องกันการได้ยินโดยใช้ NRR ไว้ด้านล่างนี้
ในสหรัฐอเมริกา OSHA ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่นายจ้างจะใช้ NRR เพื่อประมาณการลดเสียงรบกวนที่พนักงานได้รับ ตัวอย่างเหล่านี้อ้างอิงจากข้อมูลในคู่มือทางเทคนิค OSHA ส่วน III, บทที่ 5, ภาคผนวก E.
หากบริษัทของคุณใช้ A-weighting เพื่อวัดการสัมผัสเสียงรบกวน TWA ของพนักงาน จะแสดงวิธีของ OSHA ในการพิจารณาความเพียงพอของการป้องกันการได้ยินโดยใช้ NRR ไว้ในตัวอย่างที่ 1 ด้านบน
ในตัวอย่างที่ 1 การป้องกันการสัมผัสของกลุ่มพนักงานที่สวมเครื่องป้องกันการได้ยินนี้อยู่ที่ประมาณ 71 เดซิเบล ระดับการสัมผัสเสียงที่มีการป้องกันนี้ต่ำกว่า OSHA PEL ที่ 90 เดซิเบล TWA ดังนั้น นับว่าการลดเสียงของเครื่องป้องกันการได้ยินเพียงพอสำหรับการสัมผัสเสียงนี้
หมายเหตุ: เมื่อใช้ C-weighting เพื่อวัด TWA ของพนักงาน OSHA ไม่จำเป็นต้องใช้การแก้ไข 7 เดซิเบล กับ NRR
วิธีปฏิบัติในการลดค่า NRR หรือลดกำลังนั้น ทำขึ้นเพื่ออธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง NRR และการลดทอนเสียงที่พนักงานได้รับเมื่ออยู่ในงาน ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นโยบายการบังคับใช้ของ OSHA ในสหรัฐอเมริกาได้ใช้การลดกำลัง 50% กับ NRR เป็นปัจจัยด้านความปลอดภัยเมื่อนายจ้างใช้เครื่องป้องกันการได้ยินแทนการควบคุมเสียง ดูตัวอย่างที่ 2 เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้การลดกำลัง 50% ของ OSHA
ในตัวอย่างที่ 2 ข้างต้น การสัมผัสเสียงที่ได้รับการป้องกันของกลุ่มพนักงานที่สวมเครื่องป้องกันการได้ยินนี้อยู่ที่ประมาณ 83 เดซิเบล ระดับสัมผัสเสียงที่ได้รับการป้องกันนี้มีค่าต่ำกว่า OSHA PEL ที่ 90 เดซิเบล TWA ดังนั้น นายจ้างที่ใช้เครื่องป้องกันการได้ยินนี้แทนการควบคุมเสียงรบกวนจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นไปตามข้อกำหนดการควบคุมเสียงรบกวนของ OSHA
การสวมครอบหูลดเสียงร่วมกับปลั๊กลดเสียงจะช่วยลดเสียงรบกวนได้มากกว่าการสวมอุปกรณ์เดี่ยวได้ระหว่าง 5-10 เดซิเบล การป้องกันเพิ่มเติมให้ผลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความถี่ของเสียง
ในสหรัฐอเมริกา OSHA อนุญาตให้นายจ้างเพิ่ม 5 เดซิเบล ให้กับอุปกรณ์ใดก็ตามที่มี NRR สูงสุด เพื่อประมาณการป้องกันแบบรวมเมื่อสวมใส่การป้องกันใน 2 รูปแบบ ในกรณีส่วนใหญ่ การปรับค่า 5 เดซิเบล นี้ จะถูกนำมาพิจารณาหลังจากที่ได้แก้ไข NRR แล้วสำหรับ การถ่วงน้ำหนัก A และการลดกำลังได้ถูกนำไปใช้. ดูตัวอย่างที่ 3 ด้านบน.
ปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับผู้ใช้ที่ให้มาพร้อมกับเครื่องป้องกันการได้ยินเสมอสำหรับการติดตั้ง การทำความสะอาดและการจัดเก็บ และการเปลี่ยนแทนที่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน โดยทั่วไป ให้เปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเมื่อได้รับความเสียหายหรือซีลปิดกั้นเสียงรบกวนไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป
การใช้ประโยชน์: หลายอย่าง
การดูแล: ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ เปลี่ยนแทนที่เมื่อสกปรก ได้รับความเสียหาย หรือไม่สามารถคืนรูปทรงเดิมได้อีกต่อไปหลังจากการคลึง
การใช้ประโยชน์: หลายอย่าง
การดูแล: ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ เปลี่ยนแทนที่เมื่อสกปรก จุกหลุดออกจากก้านหรือจุกไม่นุ่มและยืดหยุ่นได้อีกต่อไป
การใช้ประโยชน์: มากมาย
การดูแล: ล้างทำความสะอาดได้ เปลี่ยนเมื่อชำรุด ฉีกขาด ไม่นิ่มหรือไม่ยืดหยุ่นอีกต่อไป
การใช้ประโยชน์: มากมาย
การดูแล: แถบคาดศีรษะและด้านนอกของที่ครอบหูสามารถล้างทำความสะอาดได้ โฟมภายในครอบหูไม่สามารถล้างได้ เปลี่ยนครอบหูเมื่อ: เกิดความเสียหายหรือไม่มีแรงกดเพียงพอที่จะทำให้ครอบหูแนบสนิทกับหูได้อีกต่อไป เปลี่ยนแผ่นรองและโฟมด้านใน: เปลี่ยนทุก ๆ หกเดือนหรือเร็วกว่านั้น หากได้รับความเสียหายหรือไม่นิ่มและยืดหยุ่นอีกต่อไป
การใช้ประโยชน์: มากมาย
การดูแลรักษา: แถบและปลั๊กชนิดใช้ซ้ำได้สามารถล้างทำความสะอาดได้ ชนิด Foam tips ไม่สามารถล้างได้ เปลี่ยนแถบเมื่อได้รับความเสียหายหรือไม่มีความตึงเพียงพอที่จะยึดจุกให้แน่นติดกับหูได้อีก เปลี่ยนจุกเมื่อชำรุด หรือไม่นิ่มและยืดหยุ่นได้อีกต่อไป
หมายเหตุ: ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงมาจากข้อกำหนดของประเทศที่เลือกในปัจจุบัน ข้อกำหนดของประเทศหรือท้องถิ่นอื่น ๆ อาจแตกต่างกัน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งานและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในแต่ละประเทศเสมอ เว็บไซต์นี้แสดงภาพรวมของข้อมูลทั่วไปและไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การอ่านข้อมูลนี้ไม่ได้รับรองความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ข้อมูลนี้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่เผยแพร่ และข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้แยกจากกันเนื่องจากเนื้อหามักจะมาพร้อมกับข้อมูลเพิ่มเติมและหรือคำชี้แจงเพิ่มเติม จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด