การป้องกันการสูญเสียการได้ยินเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานที่ทำงาน 3M สามารถช่วยคุณได้ด้วยความเชี่ยวชาญและผลิตภัณฑ์ของ 3M เพื่อปกป้องพนักงานของคุณ
อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HPD) ช่วยลดการสัมผัสเสียงดังของพนักงานโดยการปิดกั้นเสียงบางส่วนที่เข้าในช่องหู มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ในการลดการสัมผัสกับเสียงที่เป็นอันตราย เช่น โครงการ Buy Quiet แล ะการควบคุมเสียงดัง. โดยควรที่จะกำจัดหรือลดความรุนแรงของอันตรายมากกว่าจะเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้คนหรือบังคับให้พนักงานสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP).
เมื่อไม่สามารถควบคุมเสียงที่เป็นอันตรายได้ อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินจึงเป็นสิ่งความจำเป็น นำเสนออุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่หลากหลายซึ่งมอบทางเลือกให้กับพนักงานทั้งในด้านความสะดวกสบาย การใช้งานง่าย การสื่อสาร และการลดเสียง (การลดทอนเสียง) สร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นในการลดเสียงกับความต้องการของพนักงานแต่ละคนและสภาพแวดล้อมในการทำงาน นี่อาจหมายความว่าจำเป็นจะต้องใช้เครื่องป้องกันการได้ยินหลายประเภท พิจารณาเสนออุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้พนักงานได้ยินเสียงที่สำคัญ เมื่อมีข้อกังวลเกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัยของงาน
สิ่งที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดอาจจะเป็นการสอนพนักงานของคุณเกี่ยวกับอุปกรณ์ลดเสียงและวิธีใช้อย่างถูกต้อง ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานของคุณอาจมีความสำคัญพอ ๆ กับการออกแบบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินด้วยตัวของพวกเขาเองเพื่อช่วยในการปกป้องการได้ยินของพวกเขา
การดำเนินการประเมินความเป็นอันตรายจากเสียงดังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประเมินการรับสัมผัสเสียงดังเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA) 8 ชั่วโมงของพนักงาน หากไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสัมผัสกับเสียง นายจ้างอาจมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นในการเลือกอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่มีการลดเสียงมากเกินไปหรือมีการลดเสียงได้น้อยเกินไป
OSHA กำหนดให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียได้ยินที่สามารถลดอันตรายจากเสียงดังลงถึงอย่างต่ำ 90 เดซิเบลเอ และในบางกรณีอาจลดลงถึง 85 เดซิเบลเอ หรือต่ำกว่า การป้องกันการรับสัมผัสเสียง คือ การสัมผัสกับเสียงดังที่ค่า TWA โดยประมาณของพนักงาน หลังจากการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน NIOSH แนะนำให้พนักงานทุกคนได้รับอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่สามารถลดการสัมผัสเสียลงถึง 85 เดซิเบลเอ หรือต่ำกว่า
ด้วยตัวเลือกการป้องกันการได้ยินจำนวนมากที่มีให้เลือกมากมาย นายจ้างไม่น่าจะมีปัญหาในการเลือกอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินสองสามชิ้น จากอุปกรณ์หลากหลายประเภทซึ่งให้การลดเสียงรบกวนในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากขนาดของช่องหูของกลุ่มพนักงานมีความแตกต่างกันไป อย่าลืมจัดหาที่อุดหูหลายขนาดและหลายประเภท เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วเสียงรบกวนและการทำงานจะค่อนข้างแตกต่างกันไป การให้ตัวเลือกอื่น ๆ เช่น ครอบหูลดเสียง อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินแบบมีแถบคล้องคอ (Banded) และเครื่องป้องกันการได้ยินตามระดับที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้พนักงานคงความสามารถในการได้ยินเสียงที่สำคัญได้จึงมีประโยชน์
เนื่องจากการใช้เครื่องป้องกันการได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเกี่ยวข้องกับทักษะและแรงจูงใจของผู้สวมใส่ การฝึกอบรม และการศึกษาของพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การฝึกอบรมควรจะมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่สัมพันธ์กันของเครื่องป้องกันการได้ยินรูปแบบต่าง ๆ วิธีการเลือกการใช้งาน การใช้งานและการดูแลที่เหมาะสม และควรเปลี่ยนเมื่อใด เพื่อเพิ่ม.ให้การฝึกอบรมของคุณได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น อย่าลืมใส่วิธีการเรียนรู้แบบโต้ตอบ ปรับแต่งเนื้อหาตามสถานที่เฉพาะ และหาสิ่งที่อาจกระตุ้นให้พนักงานของคุณให้ความสำคัญกับการได้ยินของพวกเขามากพอที่จะต้องการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ เตือนพนักงานว่า ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเมื่อใด ที่ไหน และอย่างไรโดยใช้ป้ายและโปสเตอร์ในบริเวณที่มีเสียงดัง
เครื่องป้องกันการได้ยินแต่ละเครื่องถูกกำหนดระดับการลดเสียงรบกวน (NRR) โดยผู้ผลิต ค่านี้ซึ่งมีหน่วยเป็นเดซิเบล เป็นคำอธิบายที่ระบุในกฎข้อบังคับของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาว่าให้ค่าการลดเสียงเท่าใด โดยกลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีซึ่งสวมอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินอย่างถูกต้องในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม ในสถานที่ทำงาน การลดเสียงรบกวนที่ได้จากพนักงานแต่ละคนอาจแตกต่างกันอย่างมาก และอาจต่ำกว่าหรือสูงกว่าค่าการลดเสียง (NRR) ในแต่ละกรณีอย่างมีนัยสำคัญ หากใช้ค่าการลดเสียง (NRR) เป็นค่าประมาณการป้องกันในสถานที่ทำงานโดยทั่วไป 3เอ็ม แนะนำให้ลดค่าดารลดเสียง (NRR) ลง 50% หรือให้เป็นไปตามข้อระเบียบที่บังคับใช้
3เอ็ม แนะนำวิธีวัดค่าการลดเสียงส่วนบุุคลโดยใช้เครื่องทดสอบความกระชับในการใส่อุปกรณ์ลดเสียง เพื่อค้นหาว่าพนักงานแต่ละคนได้รับการป้องกันในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ คุณสามารถวัดและบันทึกค่าการลดเสียงส่วนบุคคล (Personal Attenuation Rating : PAR) สำหรับหูแต่ละข้างได้อย่างรวดเร็วโดยใช้อุปกรณ์ทดสอบความแนบกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน เช่น 3M™ E-A-Rfit™ Dual Ear Validation System. ด้วยข้อมูลนี้ คุณสามารถบอกได้ว่าพนักงานคนใดบ้างที่จำเป็นต้องรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม หรือใครที่ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่มีขนาดหรือรูปแบบอื่นๆด้วย
OSHA, NIOSH และ National Hearing Conservation Association (NHCA) ได้ให้การรับรองว่าการทดสอบการแนบกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียได้ยินเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด 3M แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ทำการทดสอบการแนบกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียได้ยิน เพื่อเป็นตัวบ่งชี้การลดเสียงที่พนักงานแต่ละคนได้รับ
นายจ้างต้องจัดเตรียม "อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่เหมาะสม" ให้กับพนักงานทุกคนที่มีการสัมผัสเสียงดังตลอดระยะเวลาการทำงาน TWA ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งเป็นค่าที่ต้องมีการเริ่มดำเนินการ (Action Level) ของ OSHA เพื่อการอนุรักษ์การได้ยิน จะต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินให้กับพนักงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและเปลี่ยนใหม่ตามความจำเป็น
นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมการใช้งานและการดูแลเอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินทั้งหมดที่จัดหาให้กับพนักงาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสวมใส่ได้แนบสนิทได้เหมาะสมตั้งแต่แรก และดูแลการใช้อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง
นายจ้างต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินโดยพนักงานที่ถูกจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งเหล่านี้:
นายจ้างต้องประเมินค่าการลดทอนเสียงของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนเฉพาะ ซึ่งมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังที่อธิบายไว้ในภาคผนวก B ของระเบียบ OSHA 1910.95 OSHA อนุญาตให้มีตัวเลือกใน การประมาณค่าความเพียงพอ ของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน เพื่อลดการสัมผัสเสียงที่ได้รับหลังจากการใส่อุปกรณ์ป้องกันของพนักงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้.
อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินต้องลดการสัมผัสเสียงตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA) ของพนักงานลงอย่างน้อยต่ำกว่า 90 เดซิเบลเอ อย่างไรก็ตาม สำหรับพนักงานที่พบว่ามีการเปลี่ยนระดับเกณฑ์ขั้นต่ำมาตรฐาน (Standard Threshold Shift) อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน จะต้องลดค่าการสัมผัสเสียงตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA) ถึง 85 เดซิเบลเอ หรือต่ำกว่า
จะต้องทำการประเมินซ้ำเพื่อดูว่าอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน สามารถลดทอนเสียงได้อย่างเพียงพอ เมื่อใดก็ตามที่การสัมผัสเสียงของพนักงานเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินไม่อาจป้องกันได้ดีพออีกต่อไป นายจ้างต้องให้การป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความจำเป็น
ไปที่ OSHA เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดในการอนุรักษ์การได้ยิน
ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินเกี่ยวข้องโดยตรงกับว่าการที่อุปกรณ์ปิดกั้นเสียงจากสิ่งแวดล้อมได้ดีเพียงใด นี้เรียกว่าการปิดคลุมเสียง หากไม่มีการปิดคลุมเสียงที่มีประสิทธิภาพ เสียงส่วนเกินจะรั่วเข้าไปในช่องหู
เสียงบางเสียงนั้นยากที่จะปิดกั้นมากกว่าเสียงอื่น ๆ ตัวอย่าง เช่น เสียงที่มีความถี่ต่ำ (เสียงเบสในสเกลดนตรี) จะลดเสียงได้ยากกว่าเสียงที่มีความถี่สูง (เสียงแหลมในสเกลดนตรี) เพื่อให้ได้การลดเสียงที่ดีทั้งเสียงความถี่ต่ำและเสียงความถี่สูง อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินต้องกระชับแน่นภายในหรือรอบ ๆ หูโดยไม่มีการรั่ว เมื่อเกิดการรั่วของเสียงขึ้น เสียงความถี่ต่ำสามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้การลดเสียงโดยรวมทำได้น้อยลง คำแนะนำในการเพิ่มประสิทธิภาพการลดเสียงรบกวนของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน:
การเลือกอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินให้กับพนักงานต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความสะดวกสบาย การใช้งานง่าย การลดเสียง และการรับรู้สถานการณ์โดยรอบ
ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าการลดเสียง (NRR) ของอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่ความกับความกระชับพอดีเพียงใด การใช้งานเป็นอย่างไร และสภาพของอุปกรณ์ด้วย
การทดสอบความกระชับของการสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียงได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดโดย OSHA, NIOSH และองค์กรวิชาชีพอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่ใช่ข้อกำหนดตามกฎหมาย แต่ก็นับว่ามีประโยชน์หลายประการ และจะช่วยให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสวมใส่ได้แนบสนิทได้เหมาะสมตั้งแต่แรก และดูแลการใช้เครื่องป้องกันการได้ยินทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง
ในการศึกษาในปี 2014 พบว่าพนักงานเกือบ 30% ในโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่สอดคล้องกับ OSHA ไม่ได้รับการลดเสียงรบกวนอย่างเพียงพอในการสัมผัสเสียงในสถานที่ทำงาน (Smith, et. al.) ในแง่ของการลดทอนเสียงในการป้องกันการได้ยินที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวางในพนักงานแต่ละคน 3เอ็ม แนะนำอย่างยิ่งให้ทำการทดสอบความกระชับเพื่อตรวจสอบค่าการลดเสียงส่วนบุคคลของพนักงานแต่ละคน
ชุดทดสอบความกระชับ เช่น เครื่องทดสอบความกระชับในการใส่อุปกรณ์ลดเสียง 3M™ EA-Rfit™ DualEar™ Validation System เป็นอุปกรณ์ทดสอบความกระชับที่สามารถทำได้ในพื้นที่ปฏิบัติงาน (Field Attenuation Estimation Systems) ค่าจากการวัดที่ได้ในระหว่าง FAES Testing คือ ค่าการลดเสียงส่วนบุคคล (PAR) PAR จะให้เห็นภาพในช่วงเวลาหนึ่งว่า อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินลดเสียงให้กับพนักงานแต่ละคนได้ดีเพียงใด แม้ว่าความกระชับของอุปกรณ์ลดเสียงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่การทดสอบความกระชับจะช่วยตรวจสอบว่าพนักงานแต่ละคนสามารถสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินของตนได้อย่างถูกต้องและได้รับการลดเสียงที่เพียงพอ และเหมาะสมกับขนาดและรูปร่างของช่องหูหรือศีรษะของพนักงานแต่ละคน ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องทดสอบความกระชับในการใส่อุปกรณ์ลดเสียง 3M™ EA-Rfit™ คลิกที่นี่.
ประโยชน์ที่สำคัญของการทดสอบความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ได้แก่:
หมายเหตุสำคัญ: ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงมาจากข้อกำหนดของประเทศที่เลือกในปัจจุบัน ข้อกำหนดของประเทศหรือท้องถิ่นอื่น ๆ อาจแตกต่างกัน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งานและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในแต่ละประเทศเสมอ เว็บไซต์นี้แสดงภาพรวมของข้อมูลทั่วไปและไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การอ่านข้อมูลนี้ไม่ได้รับรองความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ข้อมูลนี้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่เผยแพร่ และข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้แยกจากกันเนื่องจากเนื้อหามักจะมาพร้อมกับข้อมูลเพิ่มเติมและหรือคำชี้แจงเพิ่มเติม จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด