อุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจ
Selection

การเลือกหน้ากากกรองอากาศ (คู่มือการเลือกหน้ากากกรองอากาศ)

ศูนย์อุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจ 3M

การเลือกหน้ากากกรองอากาศสำหรับที่ทำงานของคุณ

การเลือกหน้ากากกรองอากาศที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าหน้ากากกรองอากาศของคุณจะผลิตมาอย่างดีเพียงใด ก็ไม่สามารถกรองอันตรายที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับหน้ากากกรองอากาศนั้นได้ เมื่อคุณทราบผลการประเมินการรับสัมผัสแล้ว คุณก็พร้อมที่จะเลือกการป้องกันที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานของคุณ

  • คุณจะต้องเลือกอุปกรณ์โดยพิจารณาจากว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานของคุณมีอันตรายจากอนุภาค (อนุภาค เช่น ฝุ่นหรือเส้นใยที่เป็นอันตราย) อันตรายจากก๊าซหรือไอระเหย (เช่น ไอระเหยของตัวทำละลายหรือก๊าซคลอรีน) หรืออันตรายจากทั้งสองประเภท

    โดยทั่วไป คุณจะป้องกันอันตรายจากอนุภาคด้วยแผ่นกรองอนุภาค และป้องกันก๊าซและไอระเหยด้วยตลับกรอง หากมีอันตรายทั้งสองประเภท ตลับกรองแบบผสมจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถกรองทั้งอนุภาคและก๊าซหรือไอระเหย
  • การประเมินการรับสัมผัสควรให้ผลระดับการรับสัมผัสของผู้ปฏิบัติงานสำหรับสารที่คุณทดสอบ โดยทั่วไป ผลลัพธ์จะวัดเป็นส่วนในล้านส่วน (ppm) หรือมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ (มก./ลบ.ม.) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเฉลี่ยในระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมง

    เปรียบเทียบระดับการรับสัมผัสของคุณกับค่าขีดจำกัดทางอาชีวอนามัยของสารเคมีในสถานที่ทำงาน (OEL) หรือค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงานที่อนุญาตให้มี (PEL) ที่กำหนดโดย Occupational Safety and Health Administration (OSHA) เพื่อพิจารณาว่ากฎหมายกำหนดให้มีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ บ่อยครั้งที่คุณสามารถใช้ค่าที่กำหนดโดยสถาบันอื่น ๆ เช่นค่าจาก American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) หากค่าเหล่านั้นต่ำกว่า OEL ไม่ว่าในกรณีใด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทั้งความเข้มข้นที่วัดได้ของคุณและระดับที่คุณกำลังเปรียบเทียบ (เช่น OEL) ใช้หน่วยวัดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ทั้งคู่สามารถแสดงเป็น ppm สำหรับค่าเฉลี่ยระดับสารเคมี (TWA) สำหรับแปดชั่วโมงการทำงาน การวัดอาจอยู่ในรูปแบบของค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีในระยะสั้น 15 นาที (STEL) หรือค่าขีดจำกัดสูงสุด (C) ซึ่งเป็นค่าจำกัดสัมบูรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรมีการรับสัมผัสเกินทุกกรณี

    หากระดับความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานของคุณต่ำกว่า OEL ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากกรองอากาศ แต่คุณอาจนำเสนอหน้ากากกรองอากาศสำหรับการใช้งานโดยสมัครใจได้ หากระดับดังกล่าวของคุณเกินค่าขีดจำกัด ให้มองหาการลดความเสี่ยงผ่านการควบคุมทางวิศวกรรมหรือการบริหารจัดการ หากการควบคุมดังกล่าวไม่สามารถทำได้ ให้เลือกอุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • หน้ากากกรองอากาศที่ OSHA อนุญาตให้ใช้ในที่ทำงานคือหน้ากากกรองอากาศที่ได้รับรับรองจาก National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) เท่านั้น หน้ากากกรองอากาศที่ได้รับการรับรองจาก NIOSH ทั้งหมดมีค่าระดับการป้องกัน (APF) ซึ่งอาจอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10 ถึง 10,000


    APF คือระดับการป้องกันระบบทางเดินหายใจในที่ทำงานที่หน้ากากกรองอากาศหรือประเภทของหน้ากากกรองอากาศนั้นคาดว่าจะมอบให้กับผู้ปฏิบัติงานเมื่อนายจ้างใช้โครงการปกป้องระบบทางเดินหายใจที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ใน 29 CFR 1910.134 ตัวอย่างเช่น APF 10 หมายถึงหน้ากากกรองอากาศสามารถป้องกันระดับการรับสัมผัสที่สูงสุด 10 เท่าของ PEL สำหรับอันตรายดังกล่าว


    หากต้องการดูระดับ APF ในที่ทำงานของคุณ ให้แบ่งระดับการรับสัมผัสตามขีดจำกัดการรับสัมผัส (สิ่งนี้เรียกว่า “อัตราส่วนความเป็นอันตราย”) ตัวอย่างเช่น:


    ระดับการรับสัมผัส: 500 ppm
    ÷
    OEL หรือ PEL: 50 ppm

    APF: 10

  • เมื่อคุณทราบ APF ที่จำเป็นแล้ว คุณสามารถจำกัดตัวเลือกของคุณให้เหลือเฉพาะหน้ากากกรองอากาศที่สามารถลดการรับสัมผัสให้ต่ำกว่า OEL ได้ OSHA แสดงรายการ APF สำหรับหน้ากากกรองอากาศประเภทต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น หน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้าพร้อมตลับกรองและแผ่นกรองอนุภาคจะมีค่า APF เท่ากับ 10

    นอกจากการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับประเภทและระดับอันตรายในที่ทำงานของคุณแล้ว คุณต้องพิจารณาถึงความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น แว่นตานิรภัยและหมวกนิรภัย ตัวอย่างเช่น แว่นตาและหน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้าอาจสวมคลุมพื้นที่ส่วนเดียวกันของใบหน้า อย่างที่บริเวณสันจมูก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาอุปกรณ์ที่พอดีกันโดยไม่ทำให้เกิดการรั่วไหลตามแนวขอบหน้ากากกรองอากาศหรือสูญเสียการประสิทธิภาพการปกป้องดวงตา

    ความสะดวกสบายและความสามารถในการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากงานนั้นต้องใช้กำลังมาก ให้พยายามเลือกหน้ากากกรองอากาศที่มีน้ำหนักเบาและคล่องตัวที่สุด และพึงระลึกไว้เสมอว่าใบหน้าของผู้คนนั้นมีรูปทรงและขนาดต่างกันไป คุณอาจต้องเลือกจากรุ่นและขนาดที่หลากหลายเพื่อให้ได้หน้ากากกรองอากาศที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน

วิดีโอการเลือกอุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจ


ศูนย์ข้อมูล

ภาพรวมของประเภทอุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจ

หน้ากากกรองอากาศจำแนกตามประเภทของอันตรายที่ป้องกันได้, APF และสารเฉพาะที่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันได้ มีวิธีอื่น ๆ ที่คุณอาจพบการจำแนกหน้ากากกรองอากาศได้เช่นกัน เช่น:

แรงดันลบ

หน้ากากกรองอากาศแบบแรงดันลบอาศัยแรงหายใจผู้สวมใส่เพื่อดึงอากาศเข้าทางตลับกรองหรือแผ่นกรองอากาศ หน้ากากประเภทนี้อาจสร้างความเครียดให้กับผู้สวมใส่ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการประเมินทางการแพทย์จึงมีความสำคัญ (และจำเป็น)

  • Filtering Image
    หน้ากากกรองอากาศแบบใช้แล้วทิ้ง

    หน้ากากกรองอากาศแบบใช้แล้วทิ้งหรือที่เรียกว่าหน้ากากกรองอนุภาคใช้เพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากอนุภาคบางชนิด น้ำหนักเบาและไม่ต้องบำรุงรักษาเพราะต้องทิ้งหลังการใช้งาน

  • Reusable Image
    หน้ากากกรองอากาศแบบใช้ซ้ำได้

    หน้ากากกรองอากาศแบบใช้ซ้ำได้สามารถใช้กับแผ่นกรองอนุภาค ตลับกรองก๊าซและไอระเหย หรือตลับกรองแบบผสม ซึ่งอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนตามกำหนดเวลาหรือตามความจำเป็น

  • Half Face Image
    หน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้า

    หน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้าจะครอบคลุมครึ่งล่างของใบหน้า รวมถึงจมูกและปาก

  • Full Face Image
    หน้ากากกรองอากาศแบบเต็มหน้า

    หน้ากากกรองอากาศแบบเต็มหน้าปิดตาและคลุมตามแนวของใบหน้า และบางครั้งอาจใช้แทนแว่นตานิรภัยได้


หน้ากากกรองอากาศแบบแรงดันบวก

หน้ากากกรองอากาศแบบแรงดันบวกจะทำหน้าที่ดันอากาศไปยังหน้ากากกรองอากาศที่สวมบนศีรษะหรือหน้ากากที่สวมบนใบหน้า โดยอาจใช้โบลเวอร์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อดึงอากาศผ่านตัวกรองหรือดึงอากาศจากแหล่งจ่ายอากาศเข้ามา โดยจะนำอากาศบริสุทธิ์จากแหล่งภายนอกพื้นที่ทำงานที่ปนเปื้อนผ่านท่อหายใจ

  • Loose Fit
    หน้ากากกรองอากาศแบบใส่ครอบศีรษะแบบหลวม

    หน้ากากกรองอากาศแบบครอบศีรษะแบบหลวมมักจะมีหมวกคลุมศีรษะหรือหมวกแข็งนิรภัยใช้ร่วมด้วย

  • Tight Fit
    หน้ากากกรองอากาศแบบต้องสวมใส่แนบกระชับกับใบหน้า

    เมื่อจำเป็นต้องใช้หน้ากากกรองอากาศแบบแนบกระชับกับใบหน้าจะต้องทดสอบความแนบกระชับของหน้ากากก่อนเสมอ และผู้ใช้ต้องตรวจสอบความกระชับทุกครั้งที่สวมหน้ากากกรองอากาศชนิดแรงดันลบแบบแนบกระชับกับใบหน้า เช่น หน้ากากกรองอนุภาคชนิดใช้แล้วทิ้งหรือหน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้า


เครื่องช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศติดตัว (SCBA)

  • SCBA Image

    เครื่องช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศติดตัว (SCBA) จัดเป็นหน้ากากกรองอากาศแบบใช้แรงดันบวกที่จ่ายอากาศให้ผู้สวมใส่แต่จะแตกต่างจากอุปกรณ์ช่วยหายใจอื่น ๆ ทั้งหมด ตรงที่ผู้ใช้นำแหล่งอากาศบริสุทธิ์ติดตัวไปด้วยในถัง อุปกรณ์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับสภาวะที่ไม่ทราบความเข้มข้นของสารอันตรายในอากาศหรือในสภาพแวดล้อมที่ "เป็นอันตรายทันทีทันใดต่อชีวิตหรือสุขภาพ" (IDLH) เช่น บรรยากาศขาดออกซิเจน เมื่อสารอันตรายเข้มข้นหรือเป็นพิษมากจนไม่สามารถจัดการให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้เมื่อใช้กับอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจประเภทอื่น หรือเมื่อคุณไม่สามารถบันทึกระดับของอันตรายในสถานที่ทำงานได้อย่างแน่ชัด


เลือกตลับกรองและ/หรือแผ่นกรองอนุภาค

อ่านเกี่ยวกับ "กำหนดการเปลี่ยนตลับกรองสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีการรับสัมผัสต่ำ" (PDF, 286.66 KB) 

การทำความเข้าใจแผ่นกรองอนุภาคประเภทต่าง ๆ และตลับกรองก๊าซและไอระเหยประเภทต่าง ๆ สามารถช่วยให้คุณเลือกตัวกรองอากาศที่เหมาะสมได้ หมวดหมู่และป้ายกำกับของ NIOSH เป็นระบบเมื่อเรียนรู้แล้วจะเป็นประโยชน์

  • Filter Image

    สำหรับแผ่นกรองอนุภาค NIOSH มี 10 หมวดหมู่ที่แตกต่างกัน 9 หมวดหมู่สำหรับตัวกรองอากาศแรงดันลบ และอีกหนึ่งหมวดหมู่สำหรับตัวกรองอากาศบริสุทธิ์โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ [PAPR])


    หมวดหมู่แรงดันลบ ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยร่วมกัน:  
     

    • ความต้านทานต่อละอองลอยน้ำมัน ซึ่งระบุด้วยตัวอักษร (N, R หรือ P) แผ่นกรองอนุภาคชั้นคุณภาพ N ไม่ทนต่อละอองลอยน้ำมัน และแผ่นกรองอนุภาคระดับ R นั้นทนต่อละอองลอยน้ำมัน แต่สามารถใช้ได้เฉพาะกับละอองลอยน้ำมันเป็นเวลาสูงสุดแปดชั่วโมงเท่านั้น ส่วนแผ่นกรองอนุภาคระดับ P สามารถป้องกันละอองน้ำมันซึมผ่านได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องกำหนดข้อจำกัดในเวลาการใช้งาน 3M แนะนำให้ใช้ตัวกรองระดับ P เป็นระยะเวลา 40 ชั่วโมงหรือ 30 วัน แล้วแต่ว่าจะถึงอย่างใดก่อน
    • ประสิทธิภาพการกรอง ตัวกรองอากาศจะได้รับการจัดลำดับประสิทธิภาพการกรองให้อยู่ที่ 95, 99 หรือ 100 ซึ่งหมายความว่าเมื่อใช้อย่างถูกต้องจะสามารถกรองอนุภาคในอากาศได้อย่างน้อย 95%, 99% หรือ 99.97%
      สำหรับตัวกรองอากาศ PAPR มีการจำแนกประเภทการกรองอนุภาคชั้นคุณภาพเดียวซึ่งเรียกว่า HEPA หรือ HE ตัวกรองอนุภาคประสิทธิภาพสูงหรือตัวกรองอากาศ HEPA มีประสิทธิภาพการกรองอย่างน้อย 99.97% สำหรับอนุภาคทั้งหมด
      ตลับกรองก๊าซและไอระเหย NIOSH มีระบบรหัสสีเพื่อช่วยคุณจำแนกตลับกรองที่ถูกต้องสำหรับอันตรายเฉพาะของคุณ ตัวอย่างเช่นแถบสีทั่วไป ได้แก่:
    • ไอระเหยอินทรีย์จากตัวทำละลาย เช่น สีและทินเนอร์ ต้องใช้ตลับกรองที่มีฉลากแถบสีดำ
    • ตลับกรองที่ผ่านการรับรองว่าป้องกันกรดแก๊ส ซึ่งรวมถึงก๊าซต่าง ๆ ได้ เช่น คลอรีน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะมีฉลากแถบสีขาว
    • ตลับกรองฉลากแถบสีเหลืองได้รับการรับรองสำหรับใช้ป้องกันไอระเหยสารอินทรีย์และกรดก๊าซ
    • ตลับกรองได้รับการรับรองสำหรับใช้ป้องกันแอมโมเนียหรือเมทิลลามีนจะมีฉลากแถบสีเขียว

     


ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ
ดูผลิตภัณฑ์ทั้งหมด
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้ากากกรองอากาศที่ตอบสนองความต้องการของทุกสภาพแวดล้อมในการทำงาน หน้ากากกรองอากาศแบบใช้ซ้ำได้ชนิดครึ่งหน้าหรือเต็มหน้าจะช่วยป้องกันทั้งอนุภาค และ/หรือก๊าซ ตลอดจนไอระเหย

  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้ากากกรองอากาศแบบใช้แล้วทิ้งของ 3M (N95 – P100) ที่มอบความสบายและคุณสมบัติอย่างครบถ้วนที่จะตอบสนองความต้องการของคุณ

  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้ากากกรองอากาศที่ส่งอากาศที่สะอาดไปยังผู้สวมใส่ให้รู้สึกสบายโดยใช้โบลเวอร์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (หน้ากากกรองอากาศชนิดจ่ายอากาศบริสุทธิ์โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ – PAPR) หรือจากปั๊มแรงดัน (หน้ากากส่งผ่านอากาศบริสุทธิ์จากแหล่งจ่ายอากาศ – SAR)


ดูขั้นตอนถัดไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการปกป้องระบบทางเดินหายใจของคุณ