กลไลการยึดติดแต่ละประเภทนั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพการยึดติด นักวิทยาศาสตร์ด้านกาว ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับแรงยึดติดเพื่อระบุความสามารถในการใช้งาน
การวัด “แรงยึดติดของกาว” ช่วยระบุแรงการยึดติดที่เกิดขึ้นโดยใช้กาว วิธีการทั่วไปที่ใช้ในการวัดคือการดึงส่วนที่ยึดติดด้วยกาวออกจากกัน แรงที่ใช้ในการดึง ทำให้วิศวกรเข้าใจการทำงานของกาวในการใช้งานจริง
แรงยึดติด คือ แรงยึดระหว่างกาวและพื้นผิววัสดุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เมื่อนำไปใช้ในการออกแบบให้การยึดติดมีความแข็งแรง อย่างไรก็ตาม แรงยึดติดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียวในการสร้างแรงยึดติดที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะใช้กาวที่แข็งแรงที่สุดในโลก การยึดติดอาจหลุดออกได้หากกาวไม่ได้ยึดติดกับพื้นผิวของวัสดุ
ค่าความแข็งแรงของเนื้อกาว คือ ความแข็งแรงภายในของเนื้อกาว - ค่าความสามารถในการยึดติดของเนื้อกาวเองภายใต้แรงเค้น ค่าความแข็งแรงของเนื้อกาวยิ่งมาก กาวก็จะให้แรงยึดติดแน่นขึ้น ค่าความแข็งแรงของเนื้อกาวสามารถระบุได้ด้วยส่วนประกอบทางเคมีของกาว แรงยึดระหว่างกาวและพื้นผิววัสดุมีช่วงความแข็งแรงที่กว้าง ตั้งแต่กาวที่ต้องการแรงกด ไปจนถึงกาวโครงสร้างสูตรอีพอกซี่และสูตรอะคริลิก
การพิจารณาประเภทของแรงเค้นที่จะกระทำลงบนจุดยึดติดของกาวมีความสำคัญมาก แรงเค้นทั่วไปประกอบด้วยแรงเฉือน, แรงฉีก, แรงลอก และแรงดึง การทราบค่าแรงและความถี่ของแรงเค้นที่กระทำต่อพื้นผิวที่ทากาวนั้นมีประโยชน์ในการเลือกกาวให้ี่มีแรงยึดติดที่เหมาะสมกับการใช้งาน
พลังงานพื้นผิว คือ คุณสมบัติทางกายภาพของพื้นผิววัสดุที่จะกำหนดว่ากาวจะยึดติดได้ดีเพียงใด วัสดุที่มีพลังงานพื้นผิวสูง ของเหลวจะกระจายตัวออกบนพื้นผิวได้ดี วัสดุที่มีพลังงานพื้นผิวต่ำ ของเหลวจะไม่ไหลและมีรูปทรงเป็นหยดน้ำ กาวควรกระจายตัวออกบนวัสดุเพื่อให้มีการยึดติดที่ดี
ในการเลือกกาวที่เหมาะสม ต้องมีความเข้าใจเรื่องพลังงานพื้นผิวของวัสดุทั้งหมดในการประกอบ และการกระจายตัวออกของกาวบนวัสดุแต่ละชนิดได้ดีเพียงใด ความสะอาดของพื้นผิวเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากกาวบางชนิดจำเป็นต้องติดลงบนวัสดุที่มีความสะอาดสูง
เทปและกาวอุตสาหกรรมของ 3M สามารถใช้กับงานที่หลากหลาย และวัสดุหลายชนิด