เทปและกาวอุตสาหกรรม 3M สำหรับการยึดติดและการประกอบ

ออกแบบจุดต่อกาวเพื่อช่วยลดความเค้น

ข้อคำนึงถึงในการออกแบบจุดต่อที่เหมาะสมสำหรับการใช้เทปและกาว ปริมาณวัสดุที่ใช้, ต้นทุนเครื่องจักร หรือความง่ายในกระบวนการผลิต ซึ่งมีความที่สำคัญอย่างมากสำหรับ “การปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม” สองตัวอย่างด้านล่างแสดงให้เห็นว่าควรจะเพิ่มความแข็งแรงอย่างไรให้สมดุลกับ ความสะดวกสบายหรือต้นทุนเมื่อมีการปรับปรุงจุดต่อของกาว

จุดต่อบริเวณมุม

  • จุดต่อตรงมุมภายใต้แรงเค้นแบบแรงฉีก(cleavage)

    การออกแบบลักษณะการต่อชนแบบตั้งฉากเป็นการออกแบบที่ไม่เหมาะสมสำหรับการยึดติดด้วยกาว แรงเค้นหลักที่เป็นแรงฉีก (clevage) จะไม่เหมาะสำหรับการยึดติดด้วยกาว

  • เสริมความแข็งแรงจุดต่อตรงมุม

    การปรับปรุงการออกแบบโดยเพิ่มเติมชิ้นส่วนจะช่วยเสริมความแข็งแรงในการยึดติดของชิ้นงาน สิ่งนี้จะช่วยกระจายแรงเค้นแบบฉีก (clevage) ให้กลายเป็นแรงเค้นแบบเฉือน ทำให้การยึดติดมีความแข็งแรง ส่วนประกอบเชิงกลที่ใช้เสริมแรงด้านนอกอาจช่วยป้องกันแรงกระแทกได้ อย่างไรก็ตามจุดต่อนี้ต้องใช้วัสดุชิ้นที่สองและอาจต้องใช้กระบวนการยึดติดสองขั้นตอน

  • การออกแบบจุดต่อบริเวณมุมที่เหมาะสม

    การปรับปรุงการออกแบบให้ดีขึ้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานและการผลิตที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการออกแบบที่สองเนื่องจากจุดต่อไม่จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้ จุดต่อนี้มีวัสดุสองชิ้น ใช้เครื่องมือเพียงเล็กน้อยและสามารถประกอบได้ในขั้นตอนเดียว นอกจากนี้ยังมีความแข็งแรงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องจากแรงฉีก (cleavage force) จะถูกแทนที่ด้วยแรงอัดซึ่งเหมาะสมที่สุดในการใช้กาวสำหรับหรับยึดติด


จุดต่อแบบทับซ้อนกัน

โดยทั่วไปแล้วการต่อแบบทับซ้อนในลักษณะที่กาวรับแรงเฉือน ทำให้กาวมีความแข็งแรงมากขึ้น ในการต่อจุดต่อที่เหมาะสมกาวจะรับแรงเฉือนอยู่ตลอดเวลา แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าจุดต่อแบบทับซ้อนต้องรับแรงฉีกหรือแรงเฉือนที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันพอดี

  • การต่อแบบทับซ้อนภายใต้แรงเค้นเฉือนและและแรงฉีก (cleavage)

    การต่อจุดต่อแบบทับซ้อนโดยทั่วไปอาจทำให้การยึดติดของกาวไม่ดีตามที่เราต้องการ การต่อแบบทับซ้อนชั้นเดียว (Single lab joint) มักจะพบแรงเฉือนอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของแรงเฉือนออกไปจากระนาบเดิม เมื่อจุดต่อเริ่มยึดออก แรงเฉือนจะเปลี่ยนแปลงเป็นแรงฉีก แรงเค้นบางส่วนจะไปรวมที่ขอบของจุดต่อแบบทับซ้อน

  • การต่อแบบ Jogle Lap จะช่วยลดแรงเค้นแบบฉีก( cleavage stress)

    ในการปรับปรุงจุดต่อให้ดีขึ้น การต่อแบบ " Joggle lap joint "ทำให้เกิดแรงเค้นในระนาบเดียวกันและช่วยรักษาแรงเฉือนในกาว กาวจะอยู่นอกระนาบแรงเค้นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม อาจเกิดแรงเค้นแบบฉีกเกิดขึ้นบ้างเมื่อจุดต่อมีการยืดออก

  • การต่อจุดต่อแบบทับซ้อนที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จะเป็นการต่อที่เอาการต่อแบบ "Scraf" และ" Double lap" มารวมกัน การต่อแบบ double lap joint จะมีประโยชน์ในการรับแรงในแนวระนาบเดียวกัน แต่การต่อแบบ scraf จะเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้นเมื่อมีแรงฉีกเกิดขึ้น

  • การต่อแบบ Double Lap Joint จะช่วยลดแรงเค้นแบบฉีก(cleavage stress)ได้มากขึ้น

    สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยการต่อจุดต่อแบบ "double lap" ตอนนี้วัสดุทั้งสองชนิดถูกกลึงหรือขึ้นรูป ด้วยการนำวัสดุมาต่อแบบทับซ้อนกัน วิธีนี้ทำให้แรงเค้นของกาวอยู่ในระนาบเดียวกันในขณะที่จุดต่อยังคงรับแรงเฉือน ถ้าแรงฉีก (cleavage force) ยังเกิดบริเวณส่วนปลายของการประกอบชิ้นงาน อาจจะพบแรงเค้นที่สูงมากในบ้างพื้นที่

  • การต่อจุดต่อแบบ Double Scarf Lab join ทำให้เกิดความแข็งแรงสูงที่สุด

    การต่อจุดต่อแบบทับซ้อนที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จะเป็นการต่อที่เอาการต่อแบบ "Scraf" และ" Double lap" มารวมกัน การต่อแบบ double lap joint จะมีประโยชน์ในการรับแรงในแนวระนาบเดียวกัน แต่การต่อแบบ scraf จะเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้นเมื่อมีแรงฉีกเกิดขึ้น

การพิจารณาการออกแบบจุดต่อแบบทับซ้อนเพิ่มเติม

การปรับปรุงให้ดีขึ้นเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและปรับสมดุลแรงเค้นในการประกอบจุดต่อแบบทับซ้อน อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นก็อาจทำให้เกิดความซับซ้อนในการทำงานหรือใช้เวลามากขึ้น และอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วย อีกหนึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกชนิดของกาวต้องสัมพันธ์กับลักษณะของการออกแบบจุดยึดติด หากจุดที่ยึดติดด้วยกาวได้รับการออกแบบครอบคลุมทั้ง3มิติ การออกแบบร่องและเดือยหรือตำแหน่งที่ทับซ้อนอย่างเหมาะสมแล้วนั้น มักจะใช้กาวชนิดเหลวในการยึดติด การใช้เทปให้เกิดประสิทธิภาพและให้เกิดความรวดเร็วในการผลิตนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆรวมถึงการออกแบบจุดเชื่อมต่อเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน


เพิ่มความสวยงามและประสิทธิภาพการทำงาน

เทปและกาวอุตสาหกรรมของ 3M สามารถใช้กับงานที่หลากหลาย และวัสดุหลายชนิด