กาวต่างชนิดกันจะให้คุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดกาวจึงไม่สามารถยึดติดได้
หากกาวไม่สามารถใช้งานได้ ในโครงการที่แตกต่างกัน การตัดสินใจเพื่อทดลองใช้กาวชนิดอื่นก็อาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าวิศวกรเคยประสบความสำเร็จในอดีตด้วยวิธีการยึดติดแบบดั้งเดิม ก่อนที่จะคิดเลิกใช้กาวโครงสร้าง สิ่งสำคัญคือต้องหาว่าเพราะเหตุใดตัวเลือกก่อนหน้านี้จึงไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ตัวอย่างเช่น อาจพบปัญหาด้านกระบวนการ อาทิ การเตรียมพื้นผิว ความสามารถในการฉีดหรือเวลาในการแห้งตัว หรือแม้แต่ปัญหาการใช้งานที่ปลายทาง เช่น คุณสมบัติของกาวกับคุณสมบัติเชิงกลไม่เข้ากัน (โมดูลัส การยืดตัว ฯลฯ ) หรืออาจต้องการความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีของกาวสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันหลายชนิด และ 3เอ็ม มีทางเลือกมากมายภายในแต่ละกลุ่ม การทราบสาเหตุของความล้มเหลวจะช่วยเป็นแนวทางในการเลือกวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้
กาวสูตรโครงสร้างมี 3 กลุ่มหลักได้แก่ อะคริลิก อีพอกซี่ และโพลียูรีเทน และแม้ว่าทั้งหมดจะแข็งแรง แต่ว่ากาวแต่ละกลุ่มก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกัน อะคริลิกสร้างความแข็งแรงได้เร็วที่สุด อีพอกซี่มีความแข็งแรงโดยรวมสูงกว่าและทนทานต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโพลียูรีเทนให้การดูดซับแรงและการลดการสั่นสะเทือน คุณลักษณะในการทำงาน เช่น อายุการใช้งาน อัตราการสร้างความแข็งแรง และปริมาณการเตรียมพื้นผิวที่ต้องการ ยังอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกาวสูตรโครงสร้างในการประกอบงานที่กำหนด
ความหนืดมีผลต่อการยึดติดของกาวเมื่อทาอย่างไร กาวชนิดที่สามารถปรับระดับตัวเองที่มีความหนืดต่ำ สามารถรวมตัวกันเพื่อเติมเต็มช่องว่างได้ แต่จะไหลบนพื้นผิวที่ไม่ใช่แนวนอน กาวที่ไม่ไหลเยิ้มซึ่งมีความหนืดสูงจะยึดติดอยู่ได้แม้จะอยู่ 'ข้างใต้' วัสดุ แต่อาจต้องเกลี่ยเมื่อทาเพื่อให้ครอบคลุมได้ทั่ว 3เอ็ม ผลิตกาว 2 ชนิดที่มีความหนืดต่างกันอย่างมาก รวมทั้งความหนืดระดับต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการผลิตที่แตกต่างกัน
ความแข็งแรงแนวเฉือนขนาด 1,000 psi เป็นขั้นต่ำสำหรับกาวที่จัดว่าเป็นกาวสูตรโครงสร้าง แต่การใช้งานหลาย ๆ แบบต้องการกาวที่ยึดติดได้แข็งแรงกว่ามาก การรู้ว่าคุณต้องการความแข็งแรงมากเพียงใด จะช่วยให้คุณทดสอบและเลือกกาวที่เหมาะสม โดยไม่ต้องเสี่ยงกับความล้มเหลวของการยึดติด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับยึดติดที่มากเกินไป
กาวร้อนจะมีการยึดติดในทันที จึงต้องติดชิ้นส่วนให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก และจากนั้นก็จะแข็งแรงพอที่จะดำเนินการขั้นตอนต่อไปได้ เวลาแห้งตัวที่นานขึ้นทำให้มีโอกาสปรับตำแหน่งชิ้นส่วนได้มากกว่าในขณะที่กาวยังใช้งานได้ แม้ว่ากาวแบบแห้งเร็ว (ไซยาโนอะคริเลต) จะเป็นจริงตามชื่อ แต่ระยะเวลาในการแห้งตัวก็สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการเปลี่ยนแปลงสูตรสารเคมีเล็กน้อย
การยืดตัวจะวัดว่าการยึดติดของกาวจะยืดหรืองอได้มากเพียงใดก่อนที่จะขาด และแน่นอนว่าการใช้งานที่แตกต่างกันจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันอย่างมาก การยึดติดที่แข็งมากจะมีการถ่ายเทพลังงานที่ใช้เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นผลดีสำหรับบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส่วนหัวของไม้กอล์ฟที่ยึดติดเข้ากับด้าม การใช้งานอื่น ๆ เช่น การใช้ที่แผงควบคุมบนรถพ่วงอาจจะดีกว่าหากใช้การยึดติดที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะสามารถดูดซับพลังงานเพื่อลดเสียงและลดการสั่นสะเทือน หรือการยึดติดระหว่างรอยต่อบนอาคารที่ต้องยืดหยุ่นเข้ากับการเคลื่อนไหวของอาคารตามปกติ แต่ยังคงความสมบูรณ์ได้
ต้องการความช่วยเหลือในการค้นหาผลิตภัณฑ์การยึดติดที่เหมาะกับโครงการของคุณหรือไม่ หากคุณต้องการคำแนะนำผลิตภัณฑ์ คำแนะนำเชิงเทคนิคหรือการใช้งาน กรุณาติดต่อ 0-2666-3666