เทปและกาวอุตสาหกรรม 3M สำหรับการยึดติดและการประกอบ

ประเภทแรงเค้นทั่วไปในจุดต่อกาว

ไม่ว่าจะเป็นจุดต่อประเภทใด การทำความเข้าใจความแตกต่างของแรงเค้นที่จะแยกการยึดติดที่เกิดขึ้นออกจากกันถือเป็นเรื่องสำคัญ เทปและกาวจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อเกิดความเค้นบนกาวเป็นแนวสองมิติ ทำให้มีการกระจายของแรงเกิดทั่วพื้นที่ของบริเวณการยึดติด เทปและกาวจะทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดความเค้นบนกาวในแนวหนึ่งมิติ ทำให้เกิดแรงเฉพาะตามขอบของพื้นที่การยึดติด การออกแบบจุดต่อต่างๆแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความเค้นในแนวหนึ่งมิติ ทำให้ต้องเกิดการปรับเปลี่ยนการออกแบบจุดต่อต่างๆ เพื่อให้กาวมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยึดติด

  • ความเค้นแรงดึง

    แรงดึงเป็นแรงดึงที่กระทำต่อจุดต่อต่างๆ ด้วยปริมาณแรงเท่าๆกัน ทิศทางการดึงจะกระทำตั้งฉากกับพื้นที่ภาคตัดขวาง แรงดึงจะแยกวัสดุให้แยกขาดออกจากการยึดติดของกาว แรงจะถูกกระจายออกไปทั่วบริเวณพื้นที่ของการยึดติด


  • แรงเค้นแบบฉีก (Cleavage Stress)

    การฉีก (Cleavage) คือการใช้แรงดึงเข้าไปที่ขอบด้านหนึ่งของข้อต่อทำให้เกิดแรงงัดบริเวณที่ยึดติด ขณะที่ด้านหนึ่งของรอยต่อกาวมีความเค้นสูง ด้านอื่นๆของรอยต่อจะไม่มีความเค้น การฉีก (Cleavage) จะเกิดขึ้นเมื่อมีแรงดึงเข้าไปที่ขอบด้านหนึ่งของข้อต่อทำให้เกิดแรงงัดบริเวณที่ยึดติด


การออกแบบจุดต่อต่างๆเพื่อให้กาวยึดติด

จุดต่อต่างๆที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี จะทำให้กาวมีหน้าที่หลักในการรับแรงดึง แรงกดหรือแรงเฉือน สิ่งนี้จะช่วยให้แรงถูกกระจายไปทั่วพื้นที่กาว จุดต่อที่มีความเค้นที่เกิดจากแรงฉีก (cleavage) หรือแรงลอก (peel) จะทำให้เกิดความเค้นสูงที่บริเวณขอบ ซึ่งอาจจะทำให้บริเวณยึดติดเกิดการหลุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีแรงสั่นสะเทือน หรือแรงกระแทก

นอกจากประเภทของแรงเค้น การปรับจุดต่อให้เหมาะสมอาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงมิติหรือขนาดอีกด้วย กาวจะถูกทดสอบและรายงานประสิทธิภาพในหน่วยแรงต่อพื้นที่ (เช่นแรงเฉือน, นิวตันต่อตารางเมตร) หรือแรงต่อความยาว (เช่นแรงในการลอก, นิวตันต่อเซนติเมตร) ขนาดของการยึดติดที่เหมาะสม จะรองรับน้ำหนักต่อพื้นที่ได้ดี ทำให้เกิดความทนทานของการยึดติดสูงขึ้น


เพิ่มความสวยงามและประสิทธิภาพการทำงาน

เทปและกาวอุตสาหกรรมของ 3M สามารถใช้กับงานที่หลากหลาย และวัสดุหลายชนิด